สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน วันที่ 26 สิงหาคม 2555 เรื่อง การจัดการสิทธิดิจิทัล (Digital Rights Management)

ขออนุญาติแนบไฟล์ส่ง แบบ PDF ค่ะ
ตาม Link ที่ปรากฎด้านล่างนี้ค่ะ

DRM 540132045

Parallel universe

http://static.discoverymedia.com/videos/components/sci/754ea1549fabd5a9e11a4ef42c31a4220e22cfb2/snag-it-player.html?auto=no

สิ่งที่ได้จากการเรียน วันที่ 4 สิงหาคม

อภิปรายกลุ่มกันเรื่องการนำเอาบริการต่างๆของห้องสมุดไปประยุกต์ใช้กับปัญหาของเพื่อนๆในคลาส

สิ่งที่ได้จากการเรียน วันที่ 28 สิงหาคม

 

สิ่งที่ได้จากการเรียน วันที่ 28 สิงหาคม

Web 2.0 & Lib 2.0

            ในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้ใช้ในการใช้และเข้าถึงสารสนเทศนั้นเปลี่ยนไป อันเนื่องจากผู้ใช้มีความสามารถและทักษะในการใช้สารสนเทศ ผู้ใช้สามารถรับบริการข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศต่างๆ ได้ผ่านเครือข่ายและช่องทางต่างๆที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบาย ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโน

โลยีต่างๆขึ้นตามมาด้วย

 

“กฎของพาเรโต” (Pareto Principle) “80/20 rule”
วิลเฟรโด พาเรโต (Vilfredo Pareto)  นักเศรษฐศาสตร์ มีแนวคิดว่า ยอดขาย 80% มาจากลูกค้าเกรด A (หรือสินค้าที่ขายดีในกรณีพิจารณา supply side) จำนวนเพียง 20% ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงระดมสรรพกำลัง และทรัพยากรส่วนใหญ่ขององค์กรไปเพื่อบริหารลูกค้าระดับท็อป 20 % หมด เพราะมีกำลังซื้อสูงกว่า และเชื่อว่าจะสร้างผลกำไรให้กับบริษัทได้ดีกว่าลูกค้ากลุ่มที่เหลืออีก 80%
เศรษฐศาสตร์หางยาว (The Long Tail)

Long Tail เป็นทฤษฎีทางการตลาดของ Chris Anderson ที่เขียนไว้ในบทบรรณาธิการนิตยสาร Wired Magazine เมื่อปี 2004 หากแกนตั้งคือ “ยอดการขาย” แกนนอนคือ “สินค้า ผลิตภัณฑ์” ส่วนที่เป็นสีแดงของกราฟคือ “Hits” สินค้ายอดนิยม เป็นที่ต้องการของคนกลุ่มใหญ่ และส่วนที่เป็นสีเหลืองคือ “nonhit” หรือ “Niches” สินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของคนกลุ่มน้อย หาซื้อได้ยาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ ชั้นวางแสดงสินค้า ซึ่งเป็น   “แนวคิดทางการตลาดที่ต้องการให้ผู้ประกอบการหันมามุ่งเน้นพัฒนากลยุทธ์สำหรับสินค้าจำนวนมากที่มีความต้องการจากผู้บริโภคต่ำ เพื่อสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น”มุ่งเน้นตลาดรายย่อย (Niche segments)ที่ผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าที่แตกต่างกัน และมีการทำให้เกิดการรวบรวมความต้องการ(Demand) เล็กๆ น้อยๆเข้าด้วยกัน

แนวคิด Long Tail

1. รักษาลูกค้าชั้นดีที่มีอยู่เพียง 20% ไว้ จะสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 80%

2. จัดสรรทรัพยากรมายังปัจจัยส่วนน้อยที่เป็นประโยชน์ต่อการเกิดผลส่วนใหญ่มากขึ้น

3. สินค้าที่มีส่วนใหญ่ที่ยังไม่สร้างประโยชน์มากนัก ควรทำให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น ไม่ควรจะปล่อยให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

เป็นแนวคิดด้านการค้าที่ใช้แนวทางชักชวนให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปทราบถึงสินค้าตัวอื่นที่มีทำให้กลับมาซื้อสินค้าอีก ซึ่งจะง่ายกว่าการชักชวนให้ลูกค้าใหม่สนใจมาซื้อสินค้าเป็นครั้งแรก

และจากประโยชน์ของทฤษฏีนี้ที่มีผลต่อการค้าอิเล็กทรอนนิกส์อย่างสูง ทำให้หลายๆ เว็บพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลผู้ใช้ว่ามีความนิยมอย่างไรบ้าง จนได้ออกมาเป็นฟังค์ชั่นการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างเช่น amazon.com จะพบว่ามีรูปแบบการนำเสนอสินค้ากลุ่มเดียวกันที่บอกว่า “ลูกค้าที่ซื้อหนังสือเล่มนี้มักซื้อเล่มเหล่านี้ด้วย” เป็นต้น และอย่างเมื่อเราเรียกดูสินค้าชิ้นไหนแล้ว ก็จะมีการแนะนำสินค้าชิ้นที่มีลักษณะหรือประเภทใกล้เคียงเพื่อให้เราเลือกด้วยเช่นกัน เป็นการเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้บริกโภค

 

“Web2.0” นี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมๆ เกี่ยวกับการใช้งาน “Internet” ที่มีการก้าวเข้ามาสู่ยุคที่ 2 ที่มีพื้นฐานการให้บริการเป็นหลัก และมีรูปแบบการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนไปหรือกล่าวได้ว่าเป็นสังคมเครือข่ายที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีส่วนรวมในการสร้างมันขึ้นมาซึ่งเป็นการสะท้อนความต้องภายในของผู้ใช้อย่างชัดเจนซึ่ง”Web2.0″ มีคุณลักษณะประกอบด้วย

 

1. “Network as Platform” คือจะต้องให้บริการหรือสามารถใช้งานผ่านทาง “Web Browser”ได้

2. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลบน “Website” นั้น สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้กับข้อมูลนั้น

3. การมีส่วนร่วมและความเป็นอิสระจะทำให้มีการใช้งานมาก

4. ใช้ aJax ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความฉลาดมีการโต้ตอบกับผู้ใช้และมี Interfaceที่ง่ายในการใช้งาน

 

 

สังคมยุคปัจจุบันถือเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) เป็นหลัก การติดต่อสื่อสารสมัยใหม่สามารถทำได้ครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ และยังได้เข้ามามีบทบาทต่อกิจกรรมของมนุษย์ในหลากหลายด้าน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันที่มาช่วยอำนวยความสะดวกสบายของมนุษย์  ตลอดจนความนิยมของคนในสังคม ยังเชื่อกันว่าการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น ช่วยประหยัดเวลาและระยะทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ที่ปัจจุบันนับจะยิ่งเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็มีเทคโนโลยีมากมายที่ถูกนำมาใช้กับห้องสมุดในยุคปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ของผู้ใช้ให้มากที่สุด  ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยี Library 2.0 เข้ามาใช้นั้น ก็ถือเป็นนวัตกรรมล่าสุดที่จะเข้ามาช่วยให้การดำเนินงานของห้องสมุดมีความราบรื่นและเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้น

 

องค์ประกอบสำคัญ Lib 2.0

1. มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหาและบริการให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้

2. จัดให้มีการใช้ทรัพยากรในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ และสื่อเสียง ทั้งนี้ในอนาคตห้องสมุดแบบกายภาพจะลดลง และห้องสมุดเสมือนจะมีบทบาทมาก

3. สร้างสังคมการสื่อสาร จัดให้มีการสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ใช้ และผู้ใช้ และ ผู้ใช้กับผู้บริการ ทั้งการสื่อสารทางเดียว (asynchronous) เช่น wikis และ โต้ตอบ (synchronous)เช่น IM

4. การสร้างสรรค์สังคม  ห้องสมุดเป็นสถาบันบริการสาธารณะ จึงต้องมีความเข้าใจสภาพการปรับเปลี่ยนของสังคมที่ให้บริการ แต่ไม่ใช่บรรณารักษ์เท่านั้น ผู้ใช้จะต้องมีส่วนร่วมด้วยในการปรับเปลี่ยน โดยต้องคำนึงต่อสังคมส่วนรวม พร้อมๆ กับความต้องการส่วนบุคคล

 

ตัวอย่างบริการ lib 2.0

1. มีการใช้ RSS ในการแจ้งข่าวห้องสมุด

2. ใช้ RSS, Wifis Blogs ในการพัฒนาบุคลากร และแจ้งข่าวสาร

3. พัฒนา OPAC 2.0 ในการเข้าถึงสารสนเทศ

4. การพัฒนา extension เพื่อให้ผู้ใช้ tag หนังสือได้โดยตรงจาก Library Catalog

5. การสร้าง group ใน Flickr เพื่อสร้าง digital collection เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย/องค์กร

6. การใช้ Facebook ในการประชาสัมพันธ์ กับกลุ่มสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ภาพ การใช้ opac 2.0 ของ worldcat

 

สิ่งที่ได้จากการเีรียน วันที่ 21 สิงหาคม

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน (Inter Library Loan-ILL)

ภาพบริการยืมระหว่างห้องสมุด ที่มา http://libraryschmibrary.wordpress.com/2010/03/30/word-of-the-day-interlibrary-loan/

            เป็นงานบริการเสริมอย่างหนึ่งที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการบริการสารสนเทศ ทั้งการยืมระหว่างห้องสมุดเครือข่าย ห้องสมุดต่างๆในประเทศ และห้องสมุดที่อยู่ต่างประเทศ โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกัน กำหนดระเบียบ และวิธีการในการให้บริการ

ปรัชญาการให้บริการ

1. ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถสนองตอบความต้องการด้านสารสนเทศของผู้ใช้ได้ทั้งหมด

2. การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างห้องสมุดเป็นปัจจัยสำคัญของงานบริการ ILL

3. ต้องสร้างบริการที่สามารถช่วยสนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้ได้ตามสิทธิ์ของผู้ใช้ที่มี

2. เกิดการบริการแก่ผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณการลงทุนคงที่

3. มีการให้บริการที่เท่าเดิม แต่ใช้ต้นทุนน้อยกว่าเดิม

ความสำคัญ

1. ขยายความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ ลดปัญหาในการเข้าถึง และลดช่องว่างความเท่าเทียมในการเข้าถึง

2. ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง

3. ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คุ้มทุน

4. ช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการจัดซื้อที่ซ้ำซ้อน

5. สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่หายากและมีเฉพาะที่ได้สะดวกขึ้น

6. สร้างความเข็มแข็งในการสร้างเครือข่ายห้องสมุด

7. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ

ลักษณะของาน

1. ขอยืมทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งอื่น

2. ให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศตามที่ได้มีการขอยืมมา

องค์ประกอบของการบริการยืมระหว่างห้องสมุด

1. หน่วยงานที่รับผิดชอบ > กำหนดให้งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้ามีหน้าที่รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด อันเนื่อมาจากมีทักษะชำนาญการในการเข้าถึง และสืบค้นสารสนเทศ

2. บุคคลและหน้าที่รับผิดชอบ > กำหนดให้มีบรรณารักษ์ปฏิบัติงานยืมระหว่างห้องสมุดโดยตรง

3. เครื่องมือสืบค้นในการเข้าถึงข้อมูล > OPAC Union Catalog

4. นโยบายและระเบียบการยืม>  กำหนดนโดยจะต้องมีการกำหนดนโยบาย ขั้นตอน การวางแผน การจัดบริการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในการสร้างระเบียบว่าด้วยการยืมระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศ จะต้องประกอบด้วยเนื้อหา วัตถุประสงค์-ความจำเป็นและความสำคัญของบริการ/ ประเภทของผู้ใช้บริการ-กำหนดนโยบายของผู้ใช้แต่ละประเภท/ ประเภททรัพยากรที่ให้บริการ- ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ปริมาณ ลักษณะ สิขสิทธิ์/ ระยะเวลาในการยืม- เพื่อให้ทราบระยะเวลาในการครอบครอง/ ค่าใช้จ่าย- ค่าใช้จ่ายในการทำสำเนา ค่าบริการ และค่าจัดส่ง/ เงื่อนไขในการยืม-ความรับผิดชอบ การดูแล การละเมิดสิทธิ์ การชดใช้ค่าเสียหาย

5. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

6. การสร้างข้อตกลง

7. แบบฟอร์ม

8. หาสมาชิกเครือข่ายเพิ่ม

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

1. ยืมด้วยมือ > ติดต่อผ่านทาง ไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ แต่ก็มีความยุ่งยากในการยืม และตรวจสอบ  ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานร่วมกัน มีการใช้แบบฟอร์มเดียวกันเพื่อช่วยให้กรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ

2. ยืมด้วยระบบอัตโนมัติ> ผู้ใช้สามารถสืบค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ทราบได้ว่ามีทรัพยากรที่ต้องการอยู่ที่ไหน และจะเลือกยืมจากแหล่งใดได้บ้าง โดยข้อดีของโปรแกรมยืมระหว่างห้องสมุด = เชื่อมโยงฐานข้อใลสหบรรณานุกรมเครือข่ายที่มีให้บริการ/ แสดงแบบฟอร์มการยืม/ ตรวจสอบการเป็นสมาชิก/รับคำร้องขอและส่งไปยังสถาบันที่เลือก/จัดเก็บสถิติและรายงานผลการยืมระห่างห้องสมุด

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. สถาบันที่ยืม > ตรวจสอบความถูกต้องของรายการบรรณานุกรม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่สถาบันไม่มีจริง จากนั้น ให้หาว่าที่ใดบอกรับวารสารนั้นบ้าง สำหรับภาษาต่างประเทศ ดูได้จาก Union List of Serials in Thailand สำหรับภาษาไทยดูได้จาก รวมรายื่อวารสารในประเทศไทย จากนั้นเขียนแบบฟอร์มการยืมและตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นดำเนินการยืม และรอฟังคำตอบจากสถาบันที่จะยืมว่าได้หรือไม่

2. สถาบันที่ให้ยืม> รับความต้องการมา จากนั้นทำการตรวจสอบความถูกต้องของแบบฟอร์มการยืม ตรวจสอบรายการสารสนเทศ ว่ามีหรือไม่ ต่อมาให้ทำการ Check-out และลงทะเบียนการยืม บรรจุหีบห่อ แนบแบบฟอร์มการส่งคืน การรับประกันความเสียหาย กำหนดการส่ง เมื่อทรัพยากรถึงปลายทางแล้วให้ตรวจสอบความเรียบร้อย พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงกำหนดส่ง ทำการติดตามทวงหากเกินกำหนด บรรจุหีบห่อ พร้อมส่งคืน สถานบันผู้ยืมเมื่อได้รับคืนก็ทำการตรวจรับ ตรวจสภาพ ทำการ Check-in และให้บริการต่อไป ท้ายสุดจะต้อมีการจัดเก็บสถิติการให้บริการด้วย

การคิดค่าบริการ >โดยทั่วไปการคิดค่าบริการจะมี 3 วิธืคือ

1. คิดค่าบริการทั้งหมดกับผู้ใช้โดยตรง

2. คิดค่าบริการบางส่วนและห้องสมุดจ่ายให้บางส่วน

3. ไม่มีการคิดค่าบริการ

สำหรับห้องสมุดแล้วส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายร่วมกับผู้ใช้บริการ ผู้ใช้จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความต้องการเฉพาะของตน

การบริหารจัดการ

1. บุคลากร ต้องเป็นคละเอียด เที่ยงตรง ตัดสินใจดี ควบคุมอารมได้ เพราะเป็นงานที่ค่อนข้างวุ่นวายและติดต่อกับหลายฝ่าย มีการเขียนนโยบายที่ชัดเชน มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร

2. จัดตารางเวลา ให้บริการตามวันทำการของสถาบัน

3. การบันทึกสถิติ ช่วยในการวางแผนนโยบาย จัดการบุคลากรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน จัดสรรงบประมาณ

4. ข้อคำนึงด้านจริยะรรมและกฎหมาย ต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย เพื่อป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์

ข้อมูลเสริม

-Extension services เป็นบริการที่ห้องสมุดประชาชนยืมหนังสือหายากจาก  หน่วยงานจดหมายเหตุ หรือพิพิธภัณฑ์มาแสดงนิทรรศการหนังสือหายาก

– ThaiLIS ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในประเทศไทย 75 แห่ง จัดทำฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม ThaiLIS Union Catalog เพื่อให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการกระจายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสารสนเทศและการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง มีการจัดหาเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง อีกทั้งยังส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างเครือข่ายและประสานงานให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน / ส่งเสริมความร่วมมือถ่ายทอดการเรียนการสอนระหว่างมหาวิทยาลัย

.

.

บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery services)

เป็นบริการที่มีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ สิ่งไม่ตีพิมพ์ ให้บริการจัดส่งในรูปแบบกระดาษ ฉบับเต็ม ย่อส่วน หรือฉบับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เป็นงานบริการที่มีค่าใช้จ่ายในการให้บริการ โดยในการให้บริการนี้ ผู้ให้บริการจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่ผู้บริการนำส่งจะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และเสียค่าลิขสิทธ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงผู้ใช้ด้วย

บริการนำส่งเอกสารนี้ จัดได้ว่าเป็นบริการเสริมของบริการ ILL เพราะการบริการ ILL นั้นเป็นบริการยืม ส่วน DD นั้นเป็นกระบวนการในการจัดส่ง

วิธีการให้บริการ

ในอดีตจะเป็นการให้บริการส่งเอกสารแบบสำเนาผ่านทางไปรษณีย์ โทรสาร และใช้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เดินทางด้วยยานพาหนะ แต่ในปัจจุบันเนื่องด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้รูปแบบการให้บริการนำส่งเอกสารเปลี่ยนแปลงไป เป็นรูปแบบการสแกน แนบไฟล์ จัดส่งผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในการให้บริการนั้นผู้ใช้สามารถทำการกรอกแบบฟอร์มร้องขอใช้บริการได้ทั้งที่ห้องสมุดและทางออนไลน์ ทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องมีการระบุชื่อทรัพยากรที่ต้องการ ผู้แต่ง แหล่งที่จัดเก็บ และสถานที่ที่ต้องการรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆด้วย

ภาพ บริการนำส่งเอกสาร ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มา http://library.cmu.ac.th/dd/

.

.

บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service-CA)

เป็นการบริการแจ้งเตือนข่าวสารให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารที่ทันสมัยในประเด็นที่สนใจ

ปรัชญาการให้บริการ

เอกสารเหมาะสม ที่ทันกาลสำหรับบุคคลที่ต้องการ

“The right book/documents to the right person at the right time”

รูปแบบการให้บริการ จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. แจ้งให้ทราบ – ทำการสำเนาหน้าปก สารบัญ สาระสังเขป ตัดข่าว สรุปข่าว ส่งตรงให้กับผู้ใช้ทั้งในรูปแบบ email และ sms

2. แสดงให้เห็น – มีการจัดแสดงทรัยพยากรสารสนเทศใหม่ๆภายในห้องสมุด

สำหรับปัจจุบ้น บริการ CAS ได้มีการผนวกเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนในการสร้างงานบริการขึ้น ทั้งมีการใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านทาง e-mail, sms

ภาพ บริการ Alert ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มา http://library.cmu.ac.th/cmul/node/134

ภาพ บริการ Alert ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มา http://library.cmu.ac.th/cmul/node/134

สิ่งที่ได้จากการเรียน วันที่ 24 กรกฎกาคม

เรื่องบริการรูปแบบใหม่

วิทยากร : อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์

ตำแหน่ง : หัวหน้างาน  งานพัฒนาและบริการสื่อสาระดิจิทัล ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

1. Mercury z39.50

ดาวน์โหลด โปรแกรม Mercury z39.50 clients จาก http://www.basedowinfosys.com/projects/mzc

_____Mercury z39.50 เป็นโปรแกรมที่ใช้จริงในห้องสมุด ดูดข้อมูลเข้ามา ดูดจากระบบห้องสมุดที่เราใช้ จิตนาการ ว่า Mercury เป็น module catalog ของห้องสมุด มช

_____ให้มองภาพว่า Mercury z39.50 clients คือ catalogue module ของระบบ InnoPAC ในห้องสมุด มช. ดังนั้นหากต้องการลงรายการบรรณานุกรมหนังสือ แค่หาเลข ISBN แล้วไปหาจาก Harvard ถ้าหาเจอ ก็จะดูดมาให้

ประเด็ดที่น่าสนใจของ z39.50

  1. ระบบห้องสมุดที่จัดหา/จัดซื้อ พัฒนาไม่มีโมดูล z39.50
  2. ระบบห้องสมุดที่ใช้อยู่มีโมดูล z39.50 แต่ห้องสามุดไม่ทราบทั้งการเปิดใช้งาน การใช้งาน
  3. ห้องสมุด/บรรณานักษ์ ไม่รู้จัก z39.50 มาก่อน
  4. หนังสือส่วนมากของห้องสามุดเป็นภาษาไทย ซึ่งระบบห้องสามุดทีเปิดโมดูล z39.50 ของประเทศไทย มีน้อยหรือไม่เปิดระบบให้บริการ

ตัวอย่าง โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib

2. Z39.88

Z39.88, OAI-PMH, Embeded Metadata กับแลกเปลี่ยนรายการบรรณานุกรมจากห้องสมุด/ทรัพยากรสู่ Application

การพัฒนาเว็บแยกเป็น 2 กรณี

_____1. การทำงมือ สร้าง  .php, .html, .htm   dreamveaver

ตัวอย่าง คำเว็บแนะนำภาควิชา 1 หน้า จะได้ไฟล์ about.html พิมพ์เนื้อหาแนะนำภาค ไป 4 พารากราฟ มีรูปภาพ .jpg ประกอบ 3 ภาพ มีlink ให้เลือก โหลดไฟล์แนะนำภาค 2 ไฟล์.ppt, .pdf  ก่อนที่จะทำเสร็จแล้วอัพขึ้น ได้ใส่ metadata ครบทุกส่วนหรือยัง ทุกมาตรฐานหรือยัง  ถ้าต้องการให้ติด ranking webometrics ก็ต้องมีการใส่ metadata ต้องใส่อย่างน้อย z39.88  google scholar

Html ฝัง web meta tag อย่างน้อย 3-5 elements

<meta name=”keywords” content=”คำค้น”>

<meta name=”authors” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”>

<meta name=”description” content=”คำอธิบาย”>

_____2. พัฒนาด้วย s/w เช่น CMS – Joomal , Drupal

_____หลายหน่วยงานรู้ว่าต้องใส่ meta tag แต่ไม่ได้มีการกำหนดการใส่อย่างเป็นรูปแบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันภายในหน่วยงาน

_____ใน dreamweaver  เปิดไปที่ code หาแถว meta http-equiv ต้อง พิมพ์เพิ่มเอง เฉพาะ ชุด meta tag

__________Jpg  ฝัง IPTC

_______________ใน photoshop

_______________รูปภาพทุกรูปที่นำเอาไปใส่ที่หน้าเว็บ จะต้อง ฝัง IPTC ทุกรูป

____________________ไปที่ File> File info

__________Ppt ฝัง document metadata

____________________Office button > prepare> properties

__________Pdf ฝัง pdf metadata

____________________Adobe>File>Properties

การขยายทุกไฟล์ โดยเฉพาะ .html ให้รองรับมาตรฐาน  z39.5 ผ่าน z39.88

3. Web Meta Tag  ให้ข้อมูลกับ Search Engine

__________<meta name=”keywords” content=”คำค้น”>

__________<meta name=”authors” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”>

__________<meta name=”description” content=”คำอธิบาย”>

_____Web Meta Tag  ให้ข้อมูลบรรณานุกรม กับ Apps เช่น Reference Manager (EndNotes, Zotero, JabRdf, PefWorl..) ผ่านมาตรฐาน z39.88

__________<meta name=”DC.title” content=”คำค้น”>

__________<meta name=”DC.authors” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”>

__________<meta name=”DC.description” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”DC.keywords” content=”คำค้น”>

__________<meta name=”Createdate” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”>

_____Citation Meta Tag เป็นชุดใหม่เพื่อให้ข้อมูลบรรณานุกรมเชิงผลงานวิชาการกับGoogle Scholar

__________<meta name=”citation_title” content=”คำค้น”>

__________<meta name=”citation_authors=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”>

__________<meta name=”citation_description” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_keywords” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_CreateDate” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_Publishdate” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_pdf_url” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_journal_title” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_volume” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_issue” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_firstpage” content=”คำอธิบาย”>

__________<meta name=”citation_lastpage” content=”คำอธิบาย”>

4. การเพิ่ม Webometric Ranking

  • Size
  • Visibility
  • Rich Files> เอา originals file ใส่เข้าไปให้ได้มากที่สุด
  • Scholar> ทำไงก็ได้ ให้ Google scholar เข้ามาเก็บข้อมูลมากที่สุด ใส่ meta citation หรือเปิด software IR ขึ้นมาให้มากที่สุด
  • ซอฟต์แวร์พัฒนา IR > ePrints, DSpace, MediaTUMs, Omeka,Drupal

 

5. Server2Go.exe

User: admin

Pass: 12345  ข้อดี แยก publication type ให้แล้ว ไม่ต้องคิดเอง

ถ้าข้อมูลมีแล้วจาก PubMed ก็สามารถดูดข้อมูลเข้ามาใส่ไว้ใน drupal ได้เลย

DOI lookup  ใส่เลข DOI ของบทความก็ดูดเข้ามาได้ โดยจะต้อง ไปขอ ID ที่ CrossRef

สิ่งที่ได้จากการเรียน วันที่ 18 กรกฎาคม

บริการสอนการใช้

(Instructional Service)

ภาพการสอนการใช้ ที่มา http://www.mpusd.k12.ca.us/districtsite/special_education

บริการสอนการใช้ จัดได้ว่าเป็นงานบริการงานหนึ่งของงานบริการอ้างอิงและสารสนเทศ มุ่งเน้นในการสอนให้ผู้ใช้มีทักษะในการค้นคว้า รวมไปถึงทักษะในการใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร การสืบค้นออนไลน์ โดยวัตถุประสงค์หลักของการให้บริการประเภทนี้คือการสอนให้ผู้ใช้มีทักษะการรู้สารสนเทศ

สมาคมห้องสมุดอเมริกัน ได้กำหนดไว้ว่า “หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ…การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ” ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้สิ่งที่บรรณารักษ์จัดเตรียมไว้ให้ไม่เป็น ผู้ใช้ไม่ได้เข้าใจถึงหลักการจัดเรียงจัดระบบที่ทางศูนย์สารสนเทศจัดเตรียมไว้ให้ ยิ่งด้วยปัจจุบันนี้มีการนำเอาเครื่องมือ และเทคโนโลยีต่างๆมาใช้เพื่อช่วยให้เข้าถึงสารสนเทศได้สะดวกมากยิ่งขึ้น บริการสอนการใช้นี้จึงเป็นการบริการที่สอนให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการใช้ห้องสมุด วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยภาระงานและบทบาทการให้บริการของบรรณารักษ์อ้างอิง ประกอบไปด้วยงานหลายอย่าง ทั้งนี้สำหรับบริการสอนการใช้นั้นสำหรับห้องสมุดระดับมหาวิทยาลัย จะมีการจัดให้บริการอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นระดับการศึกษาที่นักศึกษาต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีทักษะในการสืบค้นสารสนเทศทั้งจากภายในห้องสมุดของสถาบันแล้ว ยังหมายรวมถึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งฐานข้อมูลและอินเทอร์เน็ต โดยบทบาทของบรรณารักษ์อ้างอิง จะประกอบด้วย การจัดการให้บริการตอบคำถาม การสอนการใช้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด แนะนำน้องสมุด รวมไปถึงการออกแบบเว็บไซต์สำหรับห้องสมุดเพื่อการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ

ปรัชญาการให้บริการงานบริการสอนการใช้ คือ การช่วยเหลือผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่สามารถที่จะตอบคำถามทุกๆคำถามที่ผู้ใช้ต้องการได้ และไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ใช้ตลอดเวลา การสอนการใช้จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ตัวผู้ใช้เองสามารถค้นหา เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งสารสนเทศได้ตามความต้องการ โดยเป็นการส่งเสริมหผู้ใช้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งหมายถึง การที่ผู้ใช้มีทักษะในการเข้าถึงและนำมาใช้ได้อย่างมีวิจารณญาณ เพื่อให้สามารถนำมาปรับใช้กับงาน หรือการดำรงชีวิต

การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) คือ ความรู้ความสามารถ และทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการค้น ทักษะการอ่าน ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นต้น

อันเนื่องมาจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนขึ้นของสารสนเทศ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงต่างๆในสังคม ทั้ง การเปลี่ยนแปลงการใช้สารสนเทศ การแสวงหาสารสนเทศ ทำให้ผู้ใช้เองต้องเผชิญกับทางเลือกในการคัดเลือกสารสนเทศที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ด้วยเหตุนี้ ทำให้มีการเล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการประเมิน คัดเลือก วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ยังต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงตนเองให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) จึงเป็นทักษะสำคัญที่ผู้ใช้จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ มีความสามารถพัฒนาต่อยอดงานให้เกิดนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยสร้างกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เทคโนโลยีทางด้านการรู้สารสนเทศ

eBook Reader :

Kindle

 Sony eReader

ภาพ Sony eReader ที่มา http://www.nonsiri.com/?p=340

Nook

 Skiff Reader

 iPad  iPhone

 

จากความมุ่งหวังในการปฏิรูปการศึกษา ที่ต้องการให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ผู้คนได้รับการศึกษาที่เท่าเทียม ทั่วถึงนั้น ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึก ปฏิบัติ ทอดลงอ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะและได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์จากประสบการณ์จริง ทำให้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเรียนรู้แบบใหม่ และนอกจากนี้โรงเรียนยังต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นศูนย์การเรียนรู้ ที่จะต้องมีการจัดสื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนที่หลากหลาย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้

UNESCO (2008) ได้มีการกำหนดทักษะการรู้สารสนเทศของมนุษย์ไว้ว่า การรู้สารสนเทศคือความสามารถของตัวบุคคลที่มีความตระหนัก และรู้ถึงความต้องการสารสนเทศของตนเอง รู้ถึงวิธีการในการสืบค้น สามารถประเมินคุณภาพของสารสนเทศที่สืบค้นมาได้ นอกจากนี้ยังต้องสามารถจัดเก็บและเรียกสารสนเทศมาใช้ได้ตามความต้องการ สามารถใช้สารสนเทศที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิผลและมีจริยธรรม และยังจะต้องมีความสามารถในการประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อสร้างสรรค์และสื่อสารความรู้ออกมาได้

ในต่างประเทศ การส่งเสริมการรู้สารสนเทศได้มีการกำหนดทักษะและมาตรฐานในการรู้สารสนเทศทั้งในระดับประถมศึกษา และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมีการสร้างแบบทดสอบมาตรฐานการรู้สารสนเทศเพื่อวัดผลการรู้สารสนเทศของนักเรียนนักศึกษาในประเทศอีกด้วย

สำหรับประเทศไทย ได้มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศไว้เช่นกัน ทั้งการสร้างช่องทางในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่เป็น Broadband Internet เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการบน Mobile Service และการส่งเสริมนวัตกรรมการบริการ โดยการนำเอาเทคโนโลยีไปบูรณาการ พัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ก้าวสู่เศรษฐกิจฐานบริการและฐานความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้กำหนดทักษะ 3 ประการที่จะใช้ในแผนพัฒนาทุนมนุษยคือ ประการแรก คือ การพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy) ประการที่สอง คือ การเข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ หรือมีทักษะการรู้สารสนเทศ และประการสุดท้าย คือ การรู้เท่าทันสื่อ

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะทางด้านสารสนเทศ ประกอบด้วย

1. มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

2. มีความสามารถให้การเลือกแหล่งสารสนเทศ

3. มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ

4. มีความสามารในการคิด วิเคราะห์สารสนเทศ

5. มีความสามารถในการใช้สารสนเทศและสื่อสารสารสนได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

6. มีทักษะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตรอ์ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

American Library Association (ALA) ได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศ ไว้ 9 มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความสามารถที่จะเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

มาตรฐานที่ 2 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีวิจารณญาณในการประเมินสารสนเทศ

มาตรฐานที่ 3 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องใช้สารสนเทศอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ 4 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศและติดตามสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของตนเอง

มาตรฐานที่ 5 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ ด้วยการนำวรรณกรรมและสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆ ด้วย

มาตรฐานที่ 6 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ และไขว่คว้าเพื่อให้เกิดความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศและสร้างความรู้

มาตรฐานที่ 7 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และสังคมการเรียนรู้สารสนเทศ  จะต้องยอมรับถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมระบอบประชาธิปไตย

มาตรฐานที่ 8 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และ สังคมการเรียนรู้สารสนเทศ จะต้องฝึกปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่มีมารยาท  และจรรยาบรรณเกี่ยวกับสารสนเทศ   และเทคโนโลยีสารสนเทศ

มาตรฐานที่ 9 นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้  และสังคมการรู้สารสนเทศ  จะต้องมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่มีการติดตาม  และสร้าง  สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล

สำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศได้มีการจัดการส่งเสริมการรู้สารสารสนเทศขึ้นอย่างหลากหลายเพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งการเรียรู้ และเพื่อให้เกิดการรู้สารสนเทศในผู้ใช้ ทั้ง บริการแนะนำห้องสมุด/นำชมห้องสมุด บริการสอนการเข้าถึงข้อมูลบรรณานุกรม บริการให้การศึกษาผู้ใช้ และบริการฝึกทักษะการเรียนรู้เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้เนื่องจากห้องสมุดมีบทบาทสำคัญในการสอนการรู้สารสนเทศทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ บรรณารักษ์จึงมีบทบาทเสมือนผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศด้วยเช่นเดียวกัน โดยวิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศนี้ จะอยู่ในส่วนของงานบริการสอนการใช้ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่หลากหลายทั้งหลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ  ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์หลักของบริการสอนการใช้ห้องสมุด สามารถแบ่งได้ 4 ประการ คือ ประการแรก เพื่อให้ผู้ใช้มีความเข้าใจนและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ ประการที่สอง คือ ผู้ใช้สามารถนำความต้องการ ไปสร้างเป็นคำถามและพัฒนาการสืบค้นได้ ประการที่สาม คือ ผู้ใช้สามารถเลือกแหล่ง และเข้าถึงสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการได้รวมถึงความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ และประการสุดท้ายคือ ผู้ใช้สามารถนำเอาสารสนเทศมาพัฒนาองค์ความรู้เดิม และประยุกต์ใช้กับงานในสถานการณ์ต่างๆได้

 

ลักษณะของการให้บริการสอนการใช้ จะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction) เป็นการบริการที่ช่วยเหลือผู้ใช้เมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ

– บริการสอน/แนะนำการใช้ และการค้นคว้า

2. บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)

– บริการนำชมห้องสมุด

– บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น

– บริการสอนการค้นคว้า

สำหรับการสอนการรู้สารสนเทศในสถานบันการศึกษานั้นจะแบ่งออกเป็น 6 ลักษณะดังนี้

1. เป็นการสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Stand-Alone Course or Class) โดยจัดเป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตรซึ่งจะเป็นวิชาบังคมหรือวิชาเลือกนั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานบันการศึกษา

2. เป็นการสอนที่เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-Related Instruction)  จะมีลักษณะเป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิช่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ

3. เป็นการสอนแบบบรูณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction) เป็นลักษณะที่มีการจัดทำหลักสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ รูปแบบการสอน โดยสอนคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา โดยที่ผู้สอนและบรรณารักษ์ร่วมมือกันในการวางแผนการดำเนินการสอนร่วมกัน

4. โปรแกรมสอนห้องสมุด (One short Instruction)  จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด

5. บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์มีการใช้สื่อประสม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

6. สมุดฝึกหัด (Workbook) ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ

การบริหารจัดเตรียมการสอนการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วยขั้นตอนหลายประการ เริ่มแรกนั้นจะต้องมีการประเมินความต้องการของผู้ใช้ว่าเป็นกลุ่มใด ระดับใด ต้องการขอบเขตการรู้สารสนเทศเพียงใด ต่อมาคือการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการสอนการใช้ เพื่อให้ไม่หลุดประเด็นในการสอน ต่อมาจะต้องมีการประชาสัมพันธ์โปรแกรมชั่วโมงการสอน เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงวัน เวลา สถานที่ ในการสอนการใช้ห้องสมุด โดยระหว่างนั้นก็จะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์การสอน สถานที่ บุคลากร เพื่อให้พร้อมกับการปฏิบัติการสอนการใช้ห้องสมุดตามวัน เวลา ที่ได้กำหนดไว้

สิ่งที่ได้จากการเรียน วันที่ 10 กรกฏาคม

บริการตอบคำถาม (Inquiry Service)

ภาพโต๊ะให้บริการตอบคำถาม ที่มา http://www.library.illinois.edu/learn/virtualtour/alllibraries/rrgis.html

บริการตอบคำถาม จัดเป็นบริการพื้นฐานที่ห้องสมุดควรมี นอกเหนือจากงานบริการผู้งาน และงานบริการยืมคืน โดยบริการตอบคำถามนี้จัดเป็นงานบริการอ้างอิงและตอบคำถาม เป็นการให้บริการสารสนเทศประเภทหนึ่ง ซึ่งงานบริการสารสนเทศจะประกอบไปด้วยงานหลายๆงาน ซึ่งล้วนแต่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการคือ การให้สารสนเทศแก่ผู้ใช้ ซึ่งงานบริการสารสนเทศจะประกอบด้วย

1. บริการตอบคำถาม (Replies to Inquiries Services)

2. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service – ILL)

3. บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Service – DD)

4. บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service – CAS)

5. บริการรวบรวมบรรณานุกรม (Bibliographical Services)

6. บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ (Online Information Retrieval Services)

7. บริการชี้แนะแหล่งข้อมูล (Referral Service หรือ Information and Referral Service-I&R)

8. บริการช่วยการวิจัย (Research service)  บริการการแปล (Translation Service)

ในการให้บริการสารสนเทศนั้น จะมีการกำหนดหลัก หรือ ปรัชญาในการให้บริการขึ้นเพื่อให้ผู้ให้บริการมีหลักเกณฑ์ในการยืดถือปฏิบัติดังนี้ คือ ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังจะต้องให้บริการสารสนเทศเฉพาะบุคคล เพราะความต้องการของผู้ใช้คนหนึ่ง อาจไม่ได้เป็นสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้คนอื่น

ความสำคัญของการให้บริการอ้างอิงและสารสนเทศ คือ การจัดบริการที่ให้บริการสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาในการสืบค้นหาสารสนเทศต่างๆ และยังเป็นการให้สารสนเทศที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือแก่ผู้ใช้อีกด้วย นอกจากนั้นการจัดบริการช่วยเหลือผู้ใช้นี้ยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ใช้เล็งเห็ฯถึงความสำคัญของห้องสมุด ถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนการใช้บริการห้องสมุด และยังเป็นงานที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้บริการ

หน้าที่หลักของบรรณารักษ์ที่ให้บริการตอบคำถามนั้น จะต้องเป็นบุคลที่มีทักษะและความสามารถในการแสวงหาสารสนเทศสำหรับคำถามเฉพาะทางของผู้ใช้แต่ละบุคคลได้ อีกทั้งยังต้องมีความสามารถในการแนะนำและช่วยเหลือให้ผู้ใช้มีทักษะในการสืบค้นสารสนเทศเบื้องต้นได้ด้วยตนเองด้วย โดยระดับการให้บริการนั้นจะต้องคำนึงถึงประเภทของห้องสมุดด้วย เพราะห้องสมุดแต่ละประเภทย่อมมีผู้ใช้บริการและขอบเขตของสารสนเทศที่ผู้ใช้จะสนใจและต้องการนั้นย่อมต่างกัน  กล่าวคือ หากเป็นห้องสมุดเฉพาะ ผู้ใช้จะต้องการคำตอบที่รวดเร็ว และได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ห้องสมุดโรงเรียน จะเน้นการให้บริการไปทางด้านการสอนการใช้ห้องสมุดและการสืบค้น ห้องสมุดประชาชน จะเป็นการให้บริการที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้พัฒนาทักษะการสืบค้นสารสนเทศตามที่ต้องการ และห้องสมุดมหาวิทยาลัย จะมีความต้องการที่จะได้คำตอบอย่างรวดเร็ว มีการแนะนำการสืบค้น และสอนทักษะการสืบค้นด้วย

การวิเคราะห์คำถาม เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้บรรณารักษ์ผู้ให้บริการสามารถช่วยสืบค้นสารสนเทศตามที่ผู้ใช้บริการต้องการได้ โดยจะทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของการให้บริการได้ ว่าเป็นคำถามที่ต้องการ อะไร อย่างไร โดยประเภทของคำถามอ้างอิง จะประกอบด้วย

1. คำถามโดยตรงหรือข้อแนะนำ (Directional Question)

2. คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง (Ready Reference Question)

3. คำถามที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริง (Specific search Question)

4. คำถามที่ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัย (Research Question)

การให้บริการตอบคำถามนั้น สามารถแบ่งประเทภของการให้บริการออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. บริการโดยตรง (Direct reference services) จะเป็นการบริการที่บรรณารักษ์จะออกไปให้บริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้โดยตรง

2. บริการทางอ้อม (Indirect reference services) จะเป็นการบริการทางอ้อนที่เป็นขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการ ท้งการเลือกและจัดหาทรัพยากรตามที่ผู้ใช้บริการสนใจหรือต้องการ และการบริหารและจัดดำเนินการ มีการวางแผนระบบการทำงาน จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆ ที่ซึ่งเป็นการจัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อม สถานที่ที่สะดวกสบาย และเหมาะสม นอกจากนี้ยังจะรวมไปถึงการประชาสัมพันธ์บริการต่างๆของห้องสมุด มีการจัดการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงงานที่ปฏิบัติ

การให้บริการตอบคำถามนั้น ในอดีตจะมีการเปิดให้บริการที่โต๊ะบริการตอบคำถาม มีการตอบคำถาทางจดหมาย โทรศัพท์ และโทรสาร แต่ด้วยปัจจุบันนี้ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง ทำให้ งานบริการตอบคำถามนั้นสามารถให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกมากขึ้น นอกจากนั้นการให้บริการตอบคำถามยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพการดำเนินชีวิตของผู้ใช้ และสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการมากขึ้น  โดยมีการออนไลน์ อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

บริการสมัยใหม่ ที่ได้มีการนำมาปรับใช้ในการให้บริการของห้องสมุด ประกอบด้วย

1. บริการอีเมล์ : E-mail, Web form

มีการเปิดช่องทางการให้บริการตอบคำถามผ่านทางอีเมล์ และแบบฟอร์ม โดยผู้ใช้สามารถกรอกคำถามได้ตามต้องการ แล้วทำการส่งคำถามไปยังบรรณารักษ์ โดยบรรณารักษ์ที่ให้บริการตอบคำถามก็จะค้นหาคำตอบและส่งคำตอบกลับไปยังที่อยู่ที่ผู้ใช้บริการต้องการ

2. บริการ Chat : Basic chat-  IM,  Voice Over IP, Skype, Video Conference

เนื่องจากการให้บริการตอบคำถามที่ดีได้นั้น บรรณารักษ์จำเป็นที่จะต้องทราบถึงขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการ การสนทนาแบบ Real time จะช่วยทำให้บรรณารักษ์ผู้ให้บริการตอบคำถาม และผู้ใช้ได้มีปฏิสัมพันธ์พูดคุย ซักถาม อธิบายถึงรายละเอียดของขอบเขตของคำถามได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ ได้รับสารสนเทศที่ต้องกับความต้องการมากที่สุด

3. ความร่วมมือ

คำถามบางคำถาม บรรณารักษ์ไม่สามารถให้บริการตอบคำถามได้ อันเนื่องมาจากเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเฉพาะทาง บรรณารักษ์จึงจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายกับห้องสมุดอื่นๆเพื่อให้ช่วยบริการตอบคำถามนั้นๆ

สิ่งที่ได้จากการเรียน วันที่ 26 มิถุนายน

งานบริการจ่าย-รับ (ยืม-คืน)

ภาพงานบริการยืม-คืน

ภาพงานบริการยืม-คืน ที่มา http://www.eastlongmeadow.org/library/lending.html

  1. เพื่อสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
  2. เป็นการกำหนดกรอบและระเบียบเพื่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้ได้มากที่สุด

หน้าที่ของงานบริการยืม-คืน

  1. เป็นบริการพื้นฐานที่ต้องมีของห้องสมุด เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
  2. เป็นงานที่ช่วยประชาสัมพันธ์ห้องสมุด สร้างความประทับใจจากการช่วยเหลือและบริการที่มีคุณภาพ สร้างทัศนคติที่ดีให้แก่ผู้ใช้

ลักณะการให้บริการ

  1. ให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดประเภทต่างๆ ทั้ง หนังสือ หนังสือสำรอง วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ซีดีรอม
  2. กำหนดระยะเวลาในการให้บริการยืม-คืน เพื่อให้เกิดการใช้บริการทรัพยากรได้อย่างทั่วถึง
  3. บริการจองสิ่งพิมพ์
  4. บริการหนังสือสำรอง
  5. บริการตรวจสอบหนังสือบนชั้น เมื่อผู้ใช้แจ้งว่าหาไม่พบ
  6. ปรับเงินผู้ใช้เมื่อส่งหนังสือเกินกำหนด/เสียหาย/ชำรุด/เปียกน้ำ โดยคิดค่าปรับตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎการให้บริการ
  7. บริการตอบคำถามชี้แนะสารสนเทศทั้งจากผู้ใช้ในห้องสมุด และทางโทรศัพท์

สาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้ไม่พอใจ

  1. ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการพบ
  2. ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดส่ง
  3. จำกัดครั้งในการยืมต่อ
  4. การเสียค่าปรับเมื่อเกินกำหนดส่ง
  5. เสียงรบกวนจากผู้ใช้อื่นๆ
  6. ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์
  7. อุณหภูมิไม่พอเหมาะในการใช้บริการ อาจร้อนหรือเย็นเกินไป
  8. บริการสนับสนุนต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ระบบเครือข่ายไม่ทำงาน

ความรู้และทักษะที่บรรณารักษ์ควรมี

  1. มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง
  2. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีให้บริการ เพราะผู้ใช้คาดหวังว่าบรรณารักษ์จะต้องรู้ทุกเรื่องภายในห้องสมุด
  3. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการสืบค้นให้บริการตอบคำถามและแนะนำการใช้งานผู้ใช้ได้
  4. มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
  6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเทคนิคต่างๆ เพื่อช่วยเหลือและสร้างสรรค์บริการที่ดีให้กับผู้ใช้บริการ

การบริการบุคลากรในงานบริการนั้น ควรให้ความสำคัญกับบุคลากรงานบริการที่จำเป็นจะต้องมีประสบการณ์และความรับผิดชอบอยู่ภายในงาน มีการจัดสรรเวลางานให้กับบรรณารักษ์ที่ทำงานเต็มเวลาได้มีโอกาสทำงานในกะกลางคืนบ้างเพื่อเป็นสร้างประสบการณ์ และภาระรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ให้บรรณรักษ์เกิดความรู้สึกละเลยในหน้าที่ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ปฏิบัติงาน มีการแลกเปลี่ยน กำหนดตารางงานในช่วงที่มีผู้ใช้บริการมาก และมีผู้ใช้บริการน้อย เพื่อเป็นการจัดสรรกำลังคน และจัดสรรเวลาให้เหมาะสม เพื่อที่ว่าในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้น้อยนั้น บรรณารักษ์จะได้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นๆได้

คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่งานให้บริการยืม-คืน

  1. มีใจรักงานบริการ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
  2. สามารถให้ความถูกต้องแก่ผู้ใช้ได้
  3. มีความยืดหยุ่นในการให้บริการ
  4. มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งความน่าเชื่อถือนี้จะช่วยทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในการบริการ และสารสนเทศที่ได้รับ
  5. มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะงานบริการส่วนหน้าอาจได้รับคำถาม หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้

สาเหตุในการกำหนดค่าปรับ

  1. เพื่อให้เป็นการกระจายการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้ให้เท่าเทียมกัน
  2. การสร้างความรับผิดชอบ และตรงต่อเวลาตามที่กำหนดไว้
  3. กระตุ้นให้ผู้ใช้ส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศภายในเวลาตามที่ได้มีการกำหนดไว้

การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปรับ

  1. มีการยกเว้นได้ในบางกรณี
  2. มีการผ่อนผันได้ในบางกรณี
  3. มีมาตรการจัดการกับผู้ใช้ที่ไม่ส่งคืนหนังสือ เช่น ระงับสิทธิ์ในการยืม ระงับการอนุมัติการสำเร็จการศึกษา เป็นต้น

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

การทำงานของระบบงานในห้องสมุดที่ทำงานร่วมกันหรือเชื่อมโยงงานกัน ได้แก่ งานจัดหา งานวิเคราะห์หมวดหมู่ งานบริการยืม- คืน และงานบริหารระบบสารสนเทศ รูปแบบหนึ่งที่ใช้กับระบบงานในห้องสมุด

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสำเร็จรูปที่นิยมใช้

  1. URICA ของบริษัท Universal Communication System
  2. DYNIX ของบริษัท LIBNETS ตัวแทน MARQIS
  3. TINLIB ของบริษัท SCT Computer
  4. INNOPAC
  5. VTLS ของบริษัท Book Promotion

ชุดโปรแกรม หรือโมดูลพื้นฐานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

  1. ลงรายการ (Cataloging Module)
  2. สืบค้น (OPAC Module)
  3. จัดซื้อจัดหา (Acquisition Module)
  4. วารสาร (Serial Controls Module)
  5. ยืม-คืน (Circulation Module)

เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในงานบริการยืม-คืน

1. เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode)-เป็นการกำหนดแถบรหัสในรูปแบบสีขาวและสีดำที่มีความแตกต่างกันในด้านของความกว้าง ใช้แทนตัวเลข และตัวอักษร ฃ สามารถนำมาใช้ในงานยืม-คืน งานทะเบียนผู้ใช้
2. QR-Code/2D Barcode33คือรหัสชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ เป็นเทคโนโลยีที่อยู่ระหว่างรหัสบาร์โค๊ด และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานห้องสมุดได้ในการจัดเก็บข้อมูลหนังสือ และใช้สำหรับงานบริการยืม-คืนหนังสือได้
3. เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify-RFID)– เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุในการระบุอัตลักษณ์ของวัตถุ สามารถบ่งชี้วัตถุได้ในโดยไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่สายตามองเห็น สามารถอ่านข้อมูลผ่านวัตถุหรือสิ่งกีดขวางจำนวนหลายชิ้นได้ในครั้งเดียว
ภาพ เครื่องให้บริการยืม-คืนอัตโนมัติ ด้วยระบบ RFID